หมวดหมู่
การฝึกสติ

ภาวนาอย่างไรให้ใจเป็นปกติ

ภาวนาอย่างไร…ให้ใจเป็นปกติ
คำบรรยายโดย รศ. นพ. ชัชวาลย์ ศิลปกิจ ในโครงการ 15 ปี จิตตปัญญาศึกษา พาใจกลับบ้าน
จัดโดย ทีมอาสากิจกรรมภาวนา 8@Home วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม 2564 เวลา 20.00-21.20 น.

ใจปกติเป็นอย่างไร

ใจปกติ คือจิตที่มีศีล ไม่มีความบีบคั้นดิ้นรน เป็นกลาง ๆ เป็นใจที่เงียบ ไม่มีความคิดปรุงแต่ง เป็นใจที่มีีสภาพรู้เป็นพื้นฐาน รู้สิ่งที่ปรากฏขึ้นในขณะนั้น แต่เวลารู้ก็มักจะมีความคิด ความปรุงแต่งเป็นอัตโนมัติ ฉะนั้น เบื้องต้นก็มีหลักอยู่ว่า เราห้ามความคิดไม่ได้ แต่เราควรรู้ว่าเราจะมีท่าทีต่อสิ่งที่ปรากฏอย่างไร ไม่ว่า จะเป็นความคิด ความรู้สึก ความหงุดหงิด ความฟุ้งซ่าน ความเบื่อ ความเซ็ง ฯลฯ เรารับรู้ด้วยใจที่เป็นกลางอย่างไร ฝึกใหม่ ๆ ก็ยังไม่กลาง การที่จะทำให้เป็นกลาง เป็นปกติได้ดีขึ้น เราต้องใช้คำว่า “มนสิการ” (โยนิโสมนสิการ) คือใส่ใจ หมายความว่าวางใจโดยการมีมุม มองต่อสิ่งที่ปรากฏให้ถูกต้อง ถูกต้องคือ ถูกตามความเป็นจริง เป็นความจริงที่ได้จากปัญญาตรัสรู้ว่า ของที่ปรากฏนั้น ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น มันแปรเปลี่ยน ท่าทีแบบนี้เป็นท่าทีที่พัฒนาควบคู่ไปกับการภาวนาคือ ท่าทีที่ไม่ยึดถือ เพราะเราบอกได้ว่าสิ่งต่าง ๆ นนั้ ไม่น่ายึดถือ เพราะมัน แปรเปลี่ยน กะเกณฑ์อะไรไม่ได้

เลิกยึดถือ ใจก็เป็นปกติ
การยึดถือที่ว่า หมายถึงความไม่อยากให้มันมา ความอยากให้มันไป ความอยากให้มันมา เหล่านี้เป็นการฝืนกระแสธรรมชาติ เกิด เป็นความดิ้นรนบีบคั้น นั่นคือใจไม่เป็นปกติ ฉะนั้น การวางใจให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ความเป็นไปของสภาวะต่าง ๆ จึงเป็นหลักสำคัญ และเป็นแนวทางการวางใจในการ ปฏิบัติภาวนานี่คือโยนิโสมนสิการให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อไม่ให้มีความดิ้นรนเดือดร้อนใจที่มาจากการวางใจไม่ถูกต้อง เช่น เกิดความสงบแล้วชอบ ก็อยากได้ความสงบ แต่ความสงบมันก็ไม่ได้อยู่กับเรานาน การที่เราไปชอบความสงบ ไปยึดความสงบ ก็เหมือนกับเราขุดหลุมดักตัวเองไว้ เพราะเดี๋ยวความสงบมันหายไป (ตามธรรมชาติของมัน) แล้วเราก็จะเดือดร้อน แต่เมื่อเราฝึก ภาวนา จะสงบก็ได้ ไม่สงบก็ได้ ไม่เดือดร้อน ไม่มีปัญหากับอะไรใด ๆ การภาวนาที่จริง ก็คือเวลาที่เราฝึกฝนในการไม่มีปัญหากับอะไรสักอย่าง ไม่มีปัญหาแม้กระทั่งตอนเราเผลอไปมีปัญหา เมื่อเผลอไป มีปัญหา ก็ไม่มีปัญหากับความเผลอนั้น เป็นการพาใจกลับมาเป็นปกติเป็นขณะ ๆ ไป เราภาวนาเพื่อให้ท่าทีนี้งอกงาม ท่าทีของการไม่เผลอไปกับร่องเดิม ๆ ที่เรามักคุ้นชิน ร่องที่จะเอา จะไม่เอา อยากได้แบบนั้น ไม่ อยากได้แบบนี้ ท่าทีของการมีความอยาก-ไม่อยากตามความพอใจ-ไม่พอใจของเราก็ลดน้อยลง วางใจเป็นกลางได้มากขึ้น

ทักษะพื้นฐาน คือท่าทีที่เป็นกลางต่อทุกสิ่ง
หลักสำคัญคือ เมื่อเรารู้ว่าเราภาวนาเพื่อให้เกิดทักษะ เกิดความเข้มแข็งมั่นคง (ทางจิตใจ) เหมือนการฝึกเล่นกีฬา ที่เรารู้ว่าจะต้อง ฝึกฝนเทคนิคการเล่นขั้นพื้นฐาน เช่น ตีเทนนิสด้วยท่าแบบนี้ ต้องจบั ไม้แบบนี้ จะตีโฟร์แฮนด์ แบคแฮนด์อย่างไร การภาวนาก็คือ การฝึกให้พื้นฐานอย่างนี้มั่นคง ไม่ว่าจะเรียนรู้จากสำนักไหน จะหลับตา สร้างจังหวะ เดิน เคลื่อนไหว ฯลฯ หรือฝึกด้วยวิธไี หน ก็เป็นไปเพื่อการพัฒนาท่าทีต่อสิ่งที่ ปรากฏในใจ สิ่งที่ปรากฏให้ใจเรารับรู้ ไม่ว่าจะเป็นความหงุดหงิด ความฟุ้งซ่าน (อาการทางใจ) ลมหายใจ หรือร่างกายเรา (อาการทางกาย) ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็น Mental Object คือวัตถุทางใจ เราเรียนรู้ที่จะไม่ต้องไปจดั การวัตถุทางใจที่เรารับรู้ ถ้าเปรียบเป็นสมการ [เรา (ตัวรู้) วัตถุทางใจ (สิ่งที่เรารับรู้)] เรากำลังพัฒนาจิตใจ ไม่ใช่เพื่อแก้ไขทางซ้าย ทางขวา หรือ เครื่องหมายลูกศรของสมการนี้ ที่เมื่อก่อนอาจมีพลังงานดูดเข้า ผลักออกตามความพอใจ-ไม่พอใจของเรา แต่เรากำลังพัฒนาให้ ลูกศรนี้เป็นของกลาง ๆ เป็นแค่รู้เฉย ๆ ไม่ต้องมีปฏิกิริยาตอบโต้ ตอบสนอง แต่เป็นช่วงเวลาของการเปิดกว้าง รับรู้ทุกอย่างตาม ความเป็นจริง ไม่ได้เกิดจากความคิด ความมโน ความปรุงแต่ง

ฝึกเท่าทันความเป็นอัตโนมัติที่ใจมักเป็น
ด้วยธรรมชาติที่เราก็มีความคิด ความปรุงแต่งเป็นอัตโนมัติ เราก็ภาวนาเพื่อให้รู้จักความปรุงแต่ง ไมไ่ ด้ห้ามว่าจะเกิดขึ้นไมไ่ ด้ เพียงแต่ฝึกที่จะรู้ให้ละเอียดขึ้น รทู้ ันความปรุงแต่ง รู้ทันความพอใจ รู้ทันความไม่พอใจ ดังนั้น ความพอใจ ความไม่พอใจ ก็ กลายเป็นวตั ถุทางใจอย่างหนึ่งที่เราใช้ฝึกสังเกตให้ละเอียดขึ้นเรื่อย ๆ และเราเป็นกลางกับความพอใจ ความไม่พอใจที่เกิดขึ้นได้ เรื่อย ๆ เราสามารถวางใจเป็นกลางต่อความเผลอ เผลอไปคดิ เผลอไปหงุดหงิด อะไรก็ตามที่ปรากฏขึ้นในใจ เมื่อไรที่เรารไู้ ด้ ล้วนวางใจเป็น กลางได้ ก็จะไม่มีปัญหากับอะไรที่ปรากฏขึ้นเลย แม้กระทั่งบางครั้งที่เรามีปัญหากับวัตถุทางใจนั้น ๆ เราก็ไม่มีปัญหากับการมีปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย การฝึกฝนแบบนี้มีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่เรามักคุ้นชินกับการทำอะไรที่ต้องได้ ต้องเอา มีผดิ มีถูก ทำแล้วก็กลัวผิด เราชิน อย่างนี้มาตั้งแต่ในระบบการศึกษาแล้ว ว่าต้องทำได้ แต่เราก็เห็นมันโดยเป็นความเคยชิน เป็นความคุ้นชิน เป็นอนุสัย มันไม่ใช่เรา มันเป็นแค่รูปแบบบางอย่างในใจเรา เป็นสัญญาเก่าที่ทำงาน


วางใจเป็นกลางกับทุกปรากฏการณ์
สรุปคือ ไม่ว่าจะไปรู้อะไร สิ่งที่ถูกรู้ ถูกเห็น มีค่าเท่ากัน ก็คือเป็นปรากฏการณ์ให้ได้มอง ได้รู้ และวางใจให้เป็นกลาง และเมื่อใดที่รู้ ว่าใจไม่กลาง ก็เป็นกลางกับความไม่กลางนั้น การปฏิบัติมันก็จะเกิดไปเป็นขณะ ๆ แบบนี้ ฉะนั้น จะทำได้บ้างไม่ได้บ้าง สงบบ้างไม่สงบบ้าง ก็จะไม่เป็นปัญหา เพราะเรามานั่งฝึกไม่ใช่เพื่อเกิด ความสงบ จะเกิด ปัญหาเมื่อเรา อยากสงบแต่มันไม่สงบ แล้วก็เดือดร้อน ความสงบหรือความไม่สงบก็เป็นกลาง ๆ ทั้งคู่ พอเราอยากสงบ ใจก็ผลักความไม่สงบออก ลูกศร (ในสมการ) มีแรงผลักออก แสดงว่าเราไม่เป็นกลางกับความไม่สงบแล้ว ความไม่สงบเป็นปัญหาแล้ว เราจะค่อย ๆ เรียนรู้ว่า ทุกอย่างที่เป็นปัญหามาจากการที่เราใส่ความคิด ใส่มุมมอง หลงไปตามความไม่พอใจ เลยไม่อยากให้มันอยู่ แล้วก็ตั้งคำถามว่า “เมื่อไหร่มันจะไปวะ” เสียงในหัวที่เป็นความคิด ก็พ่วงมาด้วยความปรุงแต่ง แล้วก็กลายเป็นความพอใจ-ไม่ พอใจ แล้วก็จะกลายเป็นความอึดอัดคับข้องเป็นลูกโซ่

อย่าไปยุ่งกับมัน ปรากฏการณ์แบบนั้น ก็เป็นเรื่องปกติ สำคัญที่ว่าเรามองเห็นมันเปน็ เรื่องปกติหรือยัง หรือเรามองมันเป็นความล้มเหลวของตัวเอง ถ้าเรายังมองว่ามันเป็นความล้มเหลว ก็จะรู้สึกว่ายากจัง ที่มันยากก็ เพราะเราเพ่งเล็งอยากได้ เราไม่ได้ภาวนาเพื่อละความพอใจ และความไม่พอใจ ยังอยากได้ความสงบ ความใสปิ๊ง ก็ให้วางใจ ซ้อมไปเรื่อย ๆ ได้บ้างไม่ได้บ้างก็ไม่ใช่ปัญหา เวลามีความคิดในการตัดสินตัวเอง เห็นการตัดสินนั้น เห็นการเพ่งโทษตัวเอง ก็เข้าใจว่าการเพ่งโทษนั้นเป็นสภาวะหนึ่ง ไม่น่าที่จะ ไปยึดมั่นถือมั่นอะไร เป็นกลางกับมัน เพราะมันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน อะไรก็ล้วนถูกมองแบบนี้ได้ เพราะธรรมทั้งปวงไม่น่ายดึ มั่นถือมั่น เราต้องการทำอย่างนี้ให้มั่นคง ให้สม่ำเสมอ ให้เต็มร้อยมากขึ้น จากที่ตอนนี้ยังไม่เต็มร้อย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด ไปจัดการกับ object (สิ่งที่ถูกรู้) ว่าต้องไม่โกรธ ต้องไม่คิด อย่าฟุ้งซ่าน คำว่าอย่าฟุ้งซ่านนี่ หมายความวา่ อย่าไปยุ่งกับมัน การปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน คือให้เรารู้สิ่งที่เกิดขึ้นในใจ (ธรรมานุปัสนาสติปัฏฐาน) อย่างเป็นกลาง จิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตไมม่ ีความฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าไม่มีความฟุ้งซ่าน นี่เป็นเรื่องพื้นฐาน เมื่อฝึกสังเกตไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มขยับไปรู้ว่า เหตุของความฟุ้งซ่านคืออะไร เหตุที่ทำให้ความฟุ้งซ่านดับคืออะไร และสดุ ท้ายก็รู้ว่าจะทำ อย่างไรให้ความฟุ้งซ่านดับไป ไม่เกิดขึ้นมาอีก

เส้นทางของศีล-สมาธิ-ปัญญา
ตามหลักเราจะฝึกให้รู้ครบ 5 องค์ แต่แรก ๆ เราก็รู้แค่ 2 องค์ไปก่อนว่ามันมีหรือไม่มี การรู้ทั้ง 5 องค์คือ 1) รู้ว่ามี 2) รู้ว่าไม่มี 3) รู้เหตุ ที่มันเกิด คือจากที่ไม่มีแล้วมันเกิดขึ้นมาได้เพราะอะไร 4) รู้เหตุที่มันดับ คือจากที่มันมีอยู่แล้วมันดับไปได้เพราะอะไร และสดุท้าย 5) จะทำยังไงให้ความฟุ้งซ่านนั้นไม่เกิดอีก เป็นการดับไม่มีเหลือ ซึ่งเป็นการเจริญอริยมรรค เป็นด่านสุดท้าย เราก็พัฒนาไป ทีละขั้นทีละตอนแบบนี้ ขั้นตอนแรกก็เริ่มจากใจที่ปกติ ใจปกติ คือใจที่มีศีล (ศีลแปลว่า ความปกติ) การทำศีล ให้งอกงาม เป็นการทำศีลภาวนา ใจจะเป็นปกติได้ก็ด้วยการทำสมถะภาวนา ข่ม ๆ ไว้นิดหน่อย จะใช้คำบริกรรมหรือการเคลื่อนไหวก็ตาม ช่วยให้เราจดจ่อมากขึ้น เราก็จะสามารถระงับกิเลส ระงับตัณหาลงได้ ถ้าลึกไปกว่านั้น สมาธิเราแนบแน่นขึ้น สมาธิคือการที่ใจเราอยู่กับอารมณ์หนึ่ง อารมณเ์ดียว ก็เป็นการระงับกิเลสไปชั่วคราว ยังไม่หลุดพ้น ถ้าจะหลุด พ้นก็ต้องเป็นเรื่องการเจริญปัญญาจนกระทั่งเห็นชัดแจ้ง ซึ่งเราก็กำลังเดินอยู่บนทางเดียวกัน ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เจริญ มาแบบนี้ ว่าโดยย่อ ใจที่เป็นปกติ เกิดจากการรู้ทันความไม่ปกติ เมื่อไรที่รู้ ก็วางความไม่ปกติไป วางไป เป็นกลาง (neutral) ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น สภาวะที่ใจเป็นกลางเป็นสภาวะที่ทุกคนรู้ได้ สัมผัสได้ อาจเกิดขึ้นชั่วขณะเดียว แล้วก็เกิดความคิดความสงสัยขึ้น ก็ไม่เป็นไร ฝึกไป นี่คือความเป็นปกติ คือศีล แต่ในขณะที่ฝึกแบบนี้ไม่ใช่เพียงศีลงอกงาม สมาธิก็งอกงาม ปัญญาก็งอกงาม เพราะเรามนสิการถูกต้อง เราวางใจได้ถูก มีปัญญาที่เกิดจากการฟังให้เข้าใจว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่เที่ยง ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น มันแปรเปลี่ยนได้ มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ความเข้าใจแบบนี้ถูกย้ำซ้ำ ๆ เหมือนการฝึกตีเทนนิสซ้ำ ๆ จนสามารถตีได้ในสนามจริง

ลงสนามจริง
เราต้องการภาวนาเพื่อลงสนามจริง ไม่ใช่การภาวนาเพื่อความใสปิ๊งในตอนนั่งภาวนาแต่เวลาอยู่บ้านปล่อยรังสี ปล่อยของเพียบ อยากชวนให้เข้าใจว่า เรานั่ง 10 หรือ 20 นาทีนี่เป็นการซ้อม ทำซ้ำ ๆ ในทักษะพื้นฐานให้เกิดความชำนาญ พอเวลาลงสนามจริง ก็ รวบรวมทุกทักษะมาใช้ ฝึกแบบนี้ที่ทำให้เราค่อย ๆ เกิด ความเป็นอัตโนมัติแบบใหม่ ส่วนความเป็นอัตโนมัติแบบเก่าที่เคย เปรี้ยงปร้าง ใส่คนอื่นก็ถูกยับยั้งลง ถ้าอยากก้าวหน้าเร็ว ๆ ลองตั้งหมุดหมายดูว่า ใจเราชอบมีความผิดปกติอะไรที่ทำให้ เดือดร้อนกับตัวเราเองและคนอื่น เช่น ขี้บ่น ขี้ หงุดหงิด ขี้กลัว ขี้กังวล เราก็ลองมาใส่ใจกับความกลัว ความโกรธ ความเหงา ความเซ็งที่เรามี ฝึกรับรู้ว่ามีความรู้สึกเหล่านเี้ กิดขึ้น ด้วยใจที่เป็นกลาง เป็นเรื่องปกติ มันเป็นเพียงความเหงาที่ปรากฏ ความกลัวที่ปรากฏ ความโกรธที่ปรากฏ ไม่ใช่ว่าทำไมเราเหงา ทำไมเรากลัว ทำไมเราโกรธ คำว่าทำไมค่อย ๆ หายไป อย่างนี้เราจะมีความสามารถในการมองอย่างเป็นกลางมากขึ้นเรื่อย ๆ นี่คือความก้าวหน้า

ภูมิคุ้มกันทางใจ (Mental Immunity) คือความก้าวหน้า
ความก้าวหน้าไม่ใช่การที่ไม่มีความโกรธ ไม่มีความเหงาเกิดขึ้นเลยสบาย ถ้าเป็นอย่างนี้ระวังจะเพี้ยนไป เปรียบเหมือนวัคซีน คนที่ ได้วัคซีนไม่ได้หมายความว่าเชื้อโควิดจะรู้แล้วเลยไม่มาติดคนนั้น ฉีดวัคซีนแล้วก็เจอเชื้อโควิดได้ ดังนั้น ฝึกปฏิบัติภาวนาแล้วก็ไม่ใช่ ว่าจะไม่เจอความขุ่นมัวมาปะทะ ไม่มีกิเลสนิวรณ์มาข้องแวะ ยังคงมีกิเลส มีนิวรณ์มาข้องแวะด้วย แต่เราไม่ไปคุยกับมัน การฝึก ภาวนาเหมือนทำให้เรามีภูมิคุ้มกันใจ ถ้าเป็นตามที่อุปมาแบบนี้ แปลว่าใจมีภูมิคุ้มกัน Mental Immunity เราดีขึ้น

คนใหม่ ๆ ฝึกยังไงดี เริ่มจากฟังให้เข้าใจจริง ๆ ก่อนว่า เราฝึกภาวนาไปเพื่ออะไร ตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญที่เรามักจะขาด คนส่วนมากมักภาวนาเพื่อแสวงหาอะไรบางอย่าง ให้ได้อะไรบางอย่างมา การภาวนาหลากหลายวิธีมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาจิต ถนนมีหลายสาย บางสายเป็นการฝึกเพื่อให้จิตสงบ ดิ่งลึก เป็นฌาน ก็ไม่ได้ผิดอะไร การฝึกแบบนั้นก็ได้แบบนั้น ซึ่งต้องใช้ชั่วโมงบิน สูง ก็อาจเหมาะกับการเป็นนักบวช แต่มาอยู่ในชีวิตที่ต้องทำงานทำการได้ยาก เราไม่สามารถเดินจงกรมทั้งวันได้ แต่เราฝึกฝน ภาวนาเพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตทำงานทำการได้โดยที่ความทุกข์บรรเทาลง เราไม่ได้ภาวนาอยู่อีกโลกหนึ่ง พอทำงาน แล้วไปชาร์ตแบตเตรียมจะนิพพานแบบนั้น แล้วพอกลับมาใช้ชีวิตก็ทิ้งวัด ทิ้งการภาวนา อย่างนี้ไม่ได้ การภาวนาเพื่อเอาฌาน เอาความสงบ ก็อาจใกล้ปลายทางแต่มันไม่ใช่ ปลายทางมันเลยฌาน เลยความสงบไปอีก เส้นทางที่จะไปให้จบต้องไปด้วย ความเข้าใจที่ถูกต้อง บางครั้งอาจแวะป้ายความสงบบ้าง ก็ให้รู้ว่านี่เป็นป้ายชั่วคราว ไม่ใช่ที่พักที่ถาวร ไม่ใช่การได้นิพพานแล้ว

สติคือผู้สังเกต

คนใหม่ ๆ ชวนให้ฝึกสติก่อน ให้มีสติเป็นผู้สังเกต มีการระลึกได้มาที่กายที่ใจของตัวเอง สติเป็นเครื่องผูกจิต จิตมีธรรมชาติที่ซนเหมือนลิง มันกระโจนไปทั่ว ถ้าไม่มีอะไรผูกไว้มันกก็ไม่รู้จักตัวเอง เวลาที่ไม่ได้ผูกไว้ ลิงมันไป ทั่วก็เหมือนไม่มี ปัญหาอะไร แต่พอผูกไว้เท่านั้นแหละ ปัญหามาเลย อยู่กับลมหายใจพักหนึ่ง ก็ไปคิด โน่นคิดนี่ เริ่มออกฤทธิ์ให้เห็น ที่จริงมันออกฤทธิ์อย่างนี้อยู่นานแล้ว แต่เราไม่เคยรู้เท่านั้นเอง หลายคนที่พอมาฝึกสติแล้วถึงเห็นว่า เรานี่นางมารร้ายเลย ที่จริงไม่ใช่ เราไม่ได้แย่ลง แค่ว่าเมื่อก่อนเราไม่เห็นมันต่างหาก เชือกที่ผูกคอลิงมันจะมีผลต่อลิงก็ตอนที่มันกระโจนไปสุดเชือก เวลาที่เราฝึกสติเป็นเครื่องผูกจิตก็คล้ายกัน ใหม่ ๆ เชือกเราอาจยาวสักหน่อย จิตเราไปเที่ยวได้ไกลหน่อย ไปไกลถึงอดีต ถึงเรื่องโน้นเรื่องนี้ เต็มไปหมด ไปจนของขึ้น เผลอ ๆ ลิงกระตุกจนเชือกหลุดจากหลัก การที่เชือกหลุดจากหลักเกิดจาก การที่เราไม่ได้หมั่นรู้กาย รู้ใจที่เป็นหลักไว้ การหมั่นรู้กายรู้ใจช่วยเป็นหลักให้จิตใจได้ดี เพื่อที่จิตจะได้ไม่หนีเที่ยวอย่าง เพลิดเพลินอย่างเดิม มันจะได้มีเวลาที่สงบ มีวินัยและได้มาเรียนรู้ทำความรู้จักตัวเอง จากเดิมที่มันไม่เคยรู้จัก ตัวเอง รู้แต่เรื่องชาวบ้าน

เอาลิงมาเข้าโรงเรียน
จิตที่ไม่ได้ฝึกเป็นจิตที่ไม่สงบและไม่เคยรู้จักตัวเอง การเอาลิงมาเข้าโรงเรียน ถ้าเริ่มจากเอามันมาจากป่าแล้วขังไว้ในกรงแคบ ๆ มันคงเฉาตาย ก็ให้มันอยู่ในกรงใหญ่ ๆ ก่อน มันอาจจะอึดอัดบ้างแต่ก็พออยู่ได้ กรงใหญ่ ๆ เปรียบได้กับศีล ศีล 5 ศีล 8 เป็นข้องดเว้น ก็ช่วยให้เดือดร้อนน้อยลง ไม่วุ่นวายใจ แล้วพอมันเชื่องก็ค่อย ๆ เอาเชือกไป ผูกคอมันไว้ ผูกไว้แล้วก็ปล่อยไปก่อน จากนั้นก็ค่อยเอาเชือกผูกกับหลัก ค่อย ๆ ทำไปทีละขั้น

จิตไม่ชอบการถูกบังคับ
จิตก็เช่นกัน จิตไม่ชอบการถูกบีบบังคับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราห้ามการไปทำอะไรที่เข้มข้น บางครั้ง การไปฝึกอะไรที่เข้มข้นด้วยใจที่ไม่รู้สึกเหมือนถูกบังคับ ใจเราเปิดกว้าง ก็ทำได้ แต่ถ้าใจเราอึดอัดคับข้อง เราก็มีหน้าที่คอย สังเกตดูว่าเกิดอะไรขึ้น เช่นไปเข้าคอร์ส 6 วัน 7 วัน ก็อึดอัด โวยวายว่าทำไมเป็นแบบนี้ โวยวายไปเค้าก็ไม่ให้เรากลับ พออยู่ ๆ ไป วันที่ 3-4 ก็ค่อย ๆ สงบลงได้ ยอมได้ก็สงบลง มันวุ่นวายใจตอนยังไม่ยอม ความดื้อดึงยังไม่หมด
ฉะนั้น ฝึกใหม่ ๆ ก็เน้นเรื่องการทำความเห็นให้ถูกต้องก่อน แล้วก็ฝึกสติ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นด้วยปัญญาก่อน สัมมาทิฏฐินี่สำคัญ อาศัยการฟังให้เข้าใจ อ่านให้เข้าใจ มีผู้ชี้แนะนิดหน่อย แล้วเมื่อทำถูกต้อง มันจะไม่สร้างภาระในชีวิตประจำวัน บางคนไปเข้าคอรส์ ออกมาแล้วรู้สึกผิดกับตัวเองบ่อย ๆ อย่างนี้ต้องรู้ว่าไม่ใช่แล้ว หลงทางแล้ว แสดงว่ามีอะไรที่เราทำเกินไป ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็ลองมาตั้งหลักก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น อาจได้พิจารณาเห็นว่า อ๋อ…เราเป็นแบบนั้นเพราะอยากเป็นคนดี เราไม่ได้มาภาวนาให้เป็น คนดี

ภาวนาละความชั่ว ไม่ใช่เพื่อเป็นคนดี
พูดแบบบ้าน ๆ เรามาภาวนาเพื่อละบาป ละความชั่ว ไม่ใช่เพื่อเป็นคนดี บาปความชั่วคือ ความหลง ความโกรธ ความโลภ ความเหงา ความอิจฉา ความน้อยใจ ฯลฯ ที่เรามีอยู่แล้ว สมมุติว่าเรามีสิ่งเหล่านี้เต็มร้อย ภาวนาแล้วมันลดลงเหลือ 80 นี่ถือว่าดีขึ้น แต่เรามักคาดหวังว่าจะให้มันเป็นศูนย์ ก่นด่าตัวเองว่า ทำไมเข้าวัดแล้วยังเป็นแบบนี้ ลืมไปว่าถ้าไม่เข้าวัด เราอาจเป็นหนักกว่านี้ หรืออย่างน้อย ๆ ตอนที่เราเข้าวัดไป ที่บ้านก็สงบสุขขึ้น นี่ก็เป็นประโยชน์แล้ว แม้เรากลับไปแล้ว เป็นอย่างเดิม เค้าก็มีความสุขกัน ตอนที่เราไม่อยู่ ก็ดีเหมือนกัน

ภาวนาเพื่อตอบโจทย์ชีวิต
เรียนรู้เท่าทันภาระ เพื่อวางภาระทางใจ สำหรับการฝึกใหม่ ๆ ก็แนะนำว่า ให้ฝึกภาวนาเพื่อตอบโจทย์เล็ก ๆ ในชีวิต ให้ชีวิตเบิก บานขึ้น เหงา เบื่อ เซ็ง เศร้า หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ เบาลง ความถี่อาจไม่ลดลง แต่ความลึกของอาการที่เกิดขึ้นน้อยลง ความ ลากยาว หรือความรุนแรงน้อยลง หรือสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ จากเมื่อก่อนที่ผิดแล้วไม่รู้ไม่ชี้ ก็สามารถขอโทษขอโพยได้ เหล่านี้คือความก้าวหน้าทั้งหมด การที่ความไม่ดีไม่งามมันฝังอยู่ในใจเราสั้นลง ถ้าเราตั้งเป้าที่จะเป็นคนดี เราจะรู้สึกว่าหมดแรง เพราะมันห่างไกลมาก เพราะเรายังมีความอิจฉา มีของขึ้น พอเป็นแบบนี้แล้วก็รู้สึกผิดกับตัวเองมาก ที่จริงเราควรเห็นสิ่งเหล่านี้ เพื่อบอกตัวเองว่า เรายังต้องฝึกอยู่อีก ต้องเพียรต่อก็เท่านั้น

ภาวนาเพื่อองค์รวม ไม่ตัดสินถูก-ผิด
เราคุ้นชินกับการตัดสินถูก-ผิด เพราะเราถูกหล่อหลอมอย่างนี้มาตั้งแต่เล็กจนโต เวลาทำอะไรผิดก็ถูกต่อว่า เวลาทำถูกก็ได้รับการ ยกย่องโดยไม่มีคำถามเลย นี่เป็นความผิดพลาดอย่างหนึ่ง ที่สังคมเราไม่ยอมรับและรังเกียจความไม่สมบูรณ์แบบ ไม่ยอมรับและไม่ เรียนรู้จากความผิดพลาด เน้นตำหนิ ต่อว่า จนมาถึงการทำงานก็ด้วย ผิดพลาดไมได้ ต้องทำถูก ต้องทำได้เท่านั้น เราเลยจะเอาแต่ได้ เอาแต่ถูก พอมาภาวนา เราก็จะเอาแต่ได้ เอาแต่ถูกอีก เรียนรู้จากความผิดไม่เป็น ใจกว้างต่อความผิดไม่ได้ ใจกว้างต่อกิเลส ตัณหา ราคะที่จรเข้ามาก็ไม่ได้เป็นภาระหนักไปอีก
เราภาวนาเพื่อให้ใจกว้างขึ้น เป็น holistic เป็นองค์รวมคือเปิดรับทุกอย่าง ฟุ้งซ่านก็เห็น ไม่ฟุ้งซ่านก็เห็น ทำได้ก็เห็น ทำไม่ได้ก็เห็น รับได้ก็เห็น รับไม่ได้ก็เห็น เห็นโดยความเป็นปรากฏการณ์ อันนี้คือหลักการ ซึ่งก็ไม่ได้หมมายว่าจะต้องทำได้ทันที แต่เราภาวนาเพื่อให้หลักการนี้มั่นคงขึ้นเรื่อย ๆ ใหม่ ๆ เราก็ยังไม่สามารถเปิดกว้างได้ ก็เลยต้องหาหลักยึดให้ใจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นลมหายใจ การเคลื่อนไหว เพื่อจิตจะได้ไม่เตลิดไปเยอะ การมีหลักยึด ก็เป็นการฝึกให้จิตนิ่ง ๆ มั่นคงรับรู้ ใส่ใจทีละอย่าง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

ปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้ใจเป็นกลาง
เมื่อเรารู้ทัน รู้จักความไม่ปกติ แล้วโอเคกับความไม่ปกตินั้น เราก็เป็นปกติแล้ว เป็นกลางแล้ว นี่คือการที่เราโอเคกับความไม่โอเค ความไม่เป็นปกติถูกรู้แล้ว และเป็นการรู้ด้วยท่าทีที่ไม่ยึดถือว่าเป็นเรา รู้ด้วยท่าที่เป็นปัจจุบัน ว่าความไม่ปกตินั้นเป็นเหมือนวัตถุทางใจ (mental object) ที่ปรากฏขึ้น มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น การรู้ควรมาเป็นแพคเกจแบบนี้ ถ้าเรารู้และมีความเข้าใจที่ถูกต้องเป็นแพคเกจแบบนี้ จะไม่มีปัญหาอะไรเลย “เคยทำได้แต่วันนี้ทำไม่ได้” ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะวันนี้ไม่ใช่เมื่อวาน พอมีเสียงแบบนี้ แล้วเรารู้ว่า เรากำลังเอาเมื่อวานมาตัดสิน วันนี้อีกแล้ว อ๋อออออ นี่หลงอดีต วันนี้ก็ส่วนวันนี้ คนเมื่อวานกับคนวันนี้ก็คนละคนกัน ฮอร์โมนก็เปลี่ยน เวลาก็เปลี่ยน เหตุปัจจัยเปลี่ยนเยอะแยะเลย ท่าทีก็เปิดกว้างขึ้น เข้าใจได้ว่า จะไปเอาอะไรกับมันมากมาย เมื่อก่อนเรามักเอาอะไรกับคนอื่นมากมาย เพราะที่จริงเราก็ไม่เห็นว่า เราก็เอาอะไรกับตัวเองมากมายด้วยเหมือนกัน พอได้เรียนรู้ แบบนี้ ได้เห็น ได้วางตัวเองลงได้ ก็หยุดเอาอะไรกับตัวเองลงบ้าง ท่าทีที่ทำไมคนนั้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะเพลาลง การรู้ทันความไม่เป็นปกติ ความไม่เป็นปกติมีได้เกิดได้เป็นธรรมดาไม่ได้เป็นปัญหาอะไร อย่าไปรู้สึกท้อแท้ว่าเราไม่ก้าวหน้า การภาวนาไม่มีการสอบ ไม่มีตัดเกรด เราชินกับการตัดเกรด คอยไปเปรียบเทียบว่า คนนั้นถามลึกซึ้ง ขั้นเทพ ทำไมถามดีอย่างนี้ ทำไมเราปฏิบัติมาตั้งนานยังไม่รู้แบบนี้เลย พอนึกได้ว่า เราก็ไม่มีตัว ไม่มีตน เป็นแค่ความคิดความปรุงแต่ง ก็สว่างวาบขึ้นมาครั้งนึง จบไปครั้งนึง หรือบางทีก็ยิ่งปรุงแต่งไปกันใหญ่ ว่าครั้งหน้าเราจะไม่มาแล้ว ขอไปแอบฝึกให้ดีก่อน แล้วค่อยมาส่งการบ้านอาจารย์ แบบเจ๋ง ๆ นี่ ไปกันใหญ่ อย่าหาทำ

ตนเตือนตน ไม่ใช่ตนตำหนิตน
ควรพิจารณาหลักธรรมในระหว่างภาวนาหรือไม่? ถ้าเริ่มฝึกใหม่ ๆ ควรฝึกให้มีสติมั่นคงก่อน เราชินกับการคิดมาเยอะมาก ถ้าไม่ชำนาญ อย่าเพิ่งไปคิดพิจารณามาก มันจะฟุ้ง การคิดพิจารณาในธรรมควรต้องมีสมาธิที่แนบแน่นเป็นฐานก่อน ถ้ามาทางสมถะ ได้ฌาณ คือปฏิบัติจนนิ่ง สงบ แล้วก็ถอยออกมา เห็นความสงบนั้น เห็นว่ามันเป็นของไม่เที่ยง ไม่น่า ยึดมั่นถือมั่น เห็นกายที่นั่งอยู่ก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่น่ายึดมั่นถือมั่นเช่นกัน ไม่จำเป็นต้องมานั่งวิเคราะห์อะไรกันเยอะ แค่วางใจ ใส่ใจหรือมีทัศนะ มุมมองที่ถูกต้องตามความเป็นจริงเรียกว่าโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการเป็นหัวใจสำคัญเป็นหนึ่งในธรรมะหลักที่จะไปสู่การรู้แจ้ง โยนิโสมนสิการจะบอกว่า เราจะวางท่าทีอย่างไรให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เหมือนว่า เรายังทำไม่ได้หรอก แต่มีคนเตือนเรา เช่น อย่าตีเทนนิสท่านี้นะ เราก็ยังทำแบบนั้นไม่ได้ แต่มีคำเตือนมาช่วยให้เราสังเกตตัวเอง มีคนเตือนทีเราก็ตั้งหลักได้ที นี่เรากำลังสร้างกลไกที่จะเตือนตัวเอง เตือนได้บ่อย ๆ มันก็จะเป็นไปโดยธรรมชาติ ตนเตือนตนจะมีอิทธิพลแบบนี้
แต่ที่ทำกันคือ เรามักไม่ค่อยเตือน กระโจนตำหนิติโทษตัวเอง “เป็นอย่างนี้อีกแล้วเหรอ” เพราะเรามีท่าทีที่จะไปเอาทำได้ทำดี ไม่ได้เตือนด้วยการเห็นมันด้วยท่าทีอย่างไร จะเห็นอย่างเป็นกลางได้ก็คือ การเห็นด้วยท่าทีที่ไม่ยึดถือ ที่ไม่น่ายึดถือเพราะ มันไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น นี่ที่เราซ้อมพูดมาตั้งนานแล้ว แม้ยังเข้าไม่ถึงในทุกครั้ง แต่วันไหนที่วางใจดี ๆ ก็เข้าถึงได้บ้าง สว่างขึ้นมาวาบนึง ธรรมทั้งปวงไม่น่ายึดมั่นถือมั่น ไม่ว่าธรรมนั้นจะดีเลิศอย่างไรก็ตาม เราอาจเคยได้สภาวะโล่งแจ่มใส สว่าง แต่มันก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นทุกครั้ง ค่อยเป็นค่อยไป จะเร่งให้มันเร็วกว่านี้ได้มั้ย เร่งแล้วมันจะไปถึงที่หมายปลายทาง หรือจะตกข้างทางก็ไม่รู้

ศรัทธาในการทำอย่างสม่ำเสมอ
คำถาม: นั่งสมาธิท่องพุทโธได้นาน ได้นิ่ง ๆ แต่ยังไม่ค่อยพบความหมายอะไร?
ชวนมองว่าอย่างน้อยก็ได้นิ่ง ก็ดีแล้ว การสงบก็ได้เพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย ได้สมดุลกับการหลับการนอน และเป็นช่วงที่จิตใจ เป็นกุศล ไม่สร้างภาระ ไม่สร้างบาป ก็ถือเป็นการเจรญิกุศลอย่างยิ่งเลย แต่มันไม่ใช่เพียง 20 นาทีที่เราทำหรอก เหมือนกับการที่เราเข้าฟิตเนส ออกกำลังให้กล้ามเนื้อร่างกายแข็งแรง เลือดลมดีขึ้น หัวใจ สูบฉีดดีขึ้น นี่ก็เหมือนกัน 20 นาทีนั้นจะให้อะไรกับเราบางอย่าง แม้เราจะสัมผัสมันไม่ได้ แต่ครูบาอาจารย์บอกว่าได้ เป็นประโยชน์ ศรัทธาจึงสำคัญ ศรัทธาว่าการทำสม่ำเสมอจะส่งผลบางอย่าง แม้ยังไม่เห็นผลนั้น ก็ลงมือทำไป ทำโดยไม่ใช้ผลลัพธ์มาเป็นตัวตัดสิน ศรัทธาในคำสอนที่บอกว่า ความเพียรสำคัญความสม่ำเสมอสำคัญ แม้จะเหนื่อย จะไม่อยากทำ จะขี้เกียจ ก็ทำ เป็นการเพียรที่จะ ละอกุศล และเพียรที่จะเจริญกุศล แล้วเรามีสัจจะวาจาว่าจะภาวนาทุกวัน 20 นาทีก็ทำ ไม่ว่าจะเกิดเรื่องอะไรขึ้นก็ตามนี่คือ ความสามารถที่จะเอาชนะความคิดหรือเหตุผลดี ๆ ข้ออ้างต่าง ๆ ในการไม่ทำ เช่น วันนี้เหนื่อยมาก เดี๋ยวพรุ่งนี้ชดเชยให้ นี่คือการที่ความคิดมันมีเล่ห์เพทุบายมาก เราก็หลงเชื่อความคิดแบบนั้น เราก็เลยนอน พอรุ่งขึ้นเราก็ไม่ตื่น แล้วก็รู้สึกผิดเข้าไปอีก เวลารู้สึกผิด ใจไม่มั่นคง ใจมีภาระเพิ่ม ก็ภาวนาลำบาก ใจต้องไม่สร้างเงื่อนไขให้เกิดภาระ ต้องรู้ทันว่า เพราะเราคาดหวังแบบนี้จึงวางเงื่อนไขแบบนี้ เป็นการวางเงื่อนไขไปในอนาคตแล้ว เราแน่ใจได้อย่างไรว่าพรุ่งนี้เราจะตื่น แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าพรุ่งนี้ภาวนา 20 นาทีแล้วจะสงบ เราไม่มาฝึกเพื่อเจริญเงื่อนไข อะไรแบบนี้ เราฝึกรู้ทันใจที่หลงไปกับการเผลอไปตั้งเงื่อนไขไว้ เอาเงื่อนไขออก เราสังเกตให้รู้ทันว่านี่เรากำลังเผลอ เผลอไปตั้งเงื่อนไข

อย่าภาวนาเอาผล ให้ภาวนาทำ process (เหตุ)
เหตุของความฟุ้งซ่านมาจากการตั้งธงว่าจะเอา เป็นความคิดเพ่งเล็งอยากได้ ซึ่งไม่ควรทำ ความฟุ้งซ่านมีอยู่ในจิตก็รู้ รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน แล้วก็รู้เหตุว่า อ๋อ เพราะไปตั้งธงไว้ ก็เลยดิ้นรน รู้อย่างนี้แล้วก็วางการตั้งธงเสีย เปิด ใจกว้างยอมรับอย่างที่มันเป็นก็สงบแล้ว พอสงบแล้วก็เผลอ รู้สึกว่าอย่างนี้ดีจังเลย จำไว้ว่าจะทำอย่างนี้อีก ไม่เอา อย่าจ้องจะเอา เพราะถึงทำแบบนี้อีก ก็ไม่ได้แปลว่าจะสงบ หลักที่สำคัญคือ อย่าทำเพื่อเล็งเอาผล แต่ให้้ทำ process คือ process ของการกลับมารู้ทัน กลับมาวางใจเป็นกลาง กลับมา เปิดใจกว้างไม่คาดหวังอะไร ทำให้ชำนาญ ความเท่าทันในกระบวนการของการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นต่างหากที่เราเรียนรู้ ไม่ใช่ผลลัพธ์ ความสงบไม่ใช่สิ่งที่เราสั่งให้เกิดได้ ความสงบจะปรากฏขึ้นได้ก็เมื่อเราปฏิบัติไปจนถึงตรงนั้นเอง

ความเพียร ขยันหมั่นฝึก
สิ่งที่เราต้องทำคือ ความเพียร ขยันทำ ขยันฝึก การนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่เฉย ๆ ไม่ฝึก ไม่เกิดผลขึ้นได้ ความเพียรและศรัทธาเป็น สิ่งที่ต้องเพิ่ม ต้องมี แต่ผลคือ ความสงบเป็นสิ่งที่สั่งไม่ได้ เราคุ้นชินกับการสั่งให้เกิดผลที่ต้องการ “หัดใจเย็น ๆ ซะบ้าง” คนเราจะใจเย็นได้อย่างไร ถ้ายังไม่รู้จักอาการใจร้อนเลย เรายังเห็นประโยชน์ของความใจร้อนอยู่เลย คือเห็นว่ามันทำให้งานเสร็จเร็วดีไง งานไม่คั่งค้างไง ก็ดีไม่ใช่เหรอ ก็อาจดีแต่ก็ไม่จำเป็นต้องร้อนขนาดนั้นได้ เร็วได้ ไม่ต้องร้อน ทำงานเร็วแล้วไม่ได้ดั่งใจก็หงุดหงิด เหวี่ยงวีน ในทางกลับกัน เราสามารถทำงานเร็วเหมือนเดิมโดยไม่หงุดหงิดได้ ให้เห็นว่า เราภาวนาเพื่ออะไร สงบก็ดีแล้ว ก็เรียนรู้ต่อไป ภาวนามาตั้งนานมันยังนิ่ง ๆ อยู่ เหมือนไม่ก้าวหน้าเลย ก็ไม่มีปัญหาอะไร ความอยากก้าวหน้าทำให้มีปัญหา ถ้าอยากเรียนรู้ก็ซักถาม พูดคุย ปรึกษาครูบาอาจารย์ มานั่งคุยกันบ้างว่าต้องเติมอะไร มนสิการถูกต้องหรือยัง วางใจถูกต้อง วางท่าทีถูกต้องหรือยัง ก็ขยันอ่าน ขยันฟังจากครูบาอาจารย์

ภาวนาที่เชื่อมโยงกับชีวิต
คำถาม: เราจะสามารถภาวนาระหว่างการทำงานได้หรือไม่?
เปรียบเหมือนนักกีฬาที่มีการฝึกซ้อมกับการแข่งจริง เราก็ทำแบบนั้นคือ เราก็ซ้อมตอนที่เราฝึกภาวนาในรูปแบบ แล้วในตอนทำภารกิจการงาน ซึ่งบางทีเราเรียกว่าการฝึกนอกรูปแบบ ก็เท่าทันใจตัวเอง เสนอว่า ให้ตั้งประเด็นหรือโจทย์สำหรับตัวเองไว้สักหน่อย จะช่วยได้ ด้วยการที่เราจะมีจุดสังเกตกับเรื่องอะไร เช่น เรื่องใจร้อน เรื่องการโวยวาย ขี้บ่น ปฏิเสธไม่เป็น ฯลฯ โดยตั้งเป้าว่า เราจะสังเกตตัวเอง และพยายามไม่ทำแบบเดิม เลือกเอาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เรารู้สึกเดือดร้อนหรือเป็นประเด็นที่เป็นปัญหากับคนอื่น อย่างนี้จะได้ทั้งการภาวนาและได้แก้ปัญหาชีวิตไปในคราวเดียวกัน มีข้อสังเกตว่า คนมักภาวนาอย่างโดด ๆ โดยไม่เชื่อมโยงกับชีวิต ตรงนี้ทำให้ไม่สอดคล้องกัน ภาวนาไปเรื่อย พอมีปัญหาชีวิต ก็ต้องไปหาคอร์สอื่น มาเรียนอีกนี่มันไม่ใช่แล้วนะ
เราสามารถเอาบรรดา “ขี้ ๆ” ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นขี้กลัว ขี้กังวล ขี้น้อยใจ ขี้วีน ฯลฯ ลองเลือกมาสักขี้นึง แล้วก็ใส่ใจว่าจะทำงาน กับเรื่องนี้ จดรายละเอียดไว้เป็นบัญชีเลย เมื่อไรก็ตามที่ขี้เหล่าปรากฏขึ้นมา เราก็รู้ทันว่ามันมาแล้ว เห็นอาการขี้อิจฉา เห็นอาการ หมั่นไส้ แล้วก็แค่นั้นมันสักแต่ว่าเป็นอาการที่ปรากฏ ทำอย่างนี้ก็จะเกิดความดีงามในชีวิตประจำวัน เพราะพอเราเห็นอาการเหล่านี้เป็นแค่อาการ เราวางมันลงได้ กลับมายิ้มให้อีกฝ่าย ได้ ความเมตตา ความอ่อนโยนก็พัฒนาร่วมกันไปด้วย อย่าไปภาวนาแบบแยกส่วนออกจากชีวิต ภาวนาต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต กลับมาใช้ชีวิต เวลาไปเรียน ไปเข้าคอรส์ อะไรมา ถาม ตัวเองสักนิดว่า เราจะเอามันกลับไปทำอะไรกับชีวิต ถ้านึกไม่ออกให้ถามครูบาอาจารย์เลย ตรงนี้สำคัญไม่อยากให้เหมือนการมาสปาดีท็อกจิต ชาร์ตแบต แล้วก็เกิดออร่าใสปิ๊ง แต่พอถึงบ้านแล้วภาวนาไม่ได้ ไปไม่เป็น ลูกกวน หมาเห่า แล้วก็อยากกลับวัดอีก ถ้าเป็นการแบ่งแยกอย่างนี้ลำบาก การภาวนาในรูปแบบ ก็เหมือนกับที่นักกีฬาต้องฝึกซ้ำ ๆ ไปยกเวทให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพราะเวลาลงสนามแข่งต้องทำได้อย่างเป็น อัตโนมัติ เลือกเอาว่าเราจะฝึกภาวนาในรูปแบบอย่างไร ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ก็จะเกิดกำลังใจ ฝึกแล้วชีวิตเราผ่องใสขึ้น คนรอบข้างรู้สึกได้ ก็เป็นกำลังใจที่ดี

การภาวนาเป็นเรื่องของทุกศาสนา
คำถาม: มีคำแนะนำการภาวนาสำหรับคนที่นับถือศาสนาอื่น? ฝรั่งอธิบายการภาวนาด้วยข้อมูลทาง neuroscience (วิทยาศาสตร์สมอง) เป็นเรื่องการพัฒนาทักษะชีวิต การพัฒนา E.Q. การพัฒนา mindset หรือการมีชีวิตที่มีความสขุ โดยเน้นใช้ภาษาที่ร่วมสมัยเราสามารถสื่อสารง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นคำว่า ขี้โมโห ขี้โกรธ ซึ่งเป็นประเด็นที่ทุกคนสามารถฝึกฝนให้รู้ทันได้ เพราะทุกคนเคยเป็น และเคยหยุดได้ ความรู้ที่ว่าอะไรควรทำ ควรเป็น ทุกคนรู้ดีหมด ดีชั่วรู้หมด แต่อดใจไม่อยู่ ตอนที่จำเป็นต้องใช้ความรู้นั้น ความรู้มันหาย มันมาไม่ทันให้ใช้ เช่น ทุกคนรู้ว่าความ โกรธไม่ดี แต่ตอนที่โกรธ ความรู้อันนั้นหายไปชั่วขณะ ตอนนั้นคิดแต่ว่าต้องด่ามันสักหน่อย “อย่างนี้รับไม่ได้” “ทำอย่างนี้ได้อย่างไรกัน” จะเห็นว่า ความรู้ว่าอะไรควร ไม่ควรหายไปหมดเลย มีแต่ความคิดชักชวนจากความโกรธ เราจึงไม่ต้องการความรู้ที่ว่ารู้อะไร (know what) แล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือ how to แล้ว จะทำอย่างไรล่ะ เราจะสอนลูก สอนลูกน้องให้รู้จัก regulate emotion ยังไง เราอาจเรียกสิ่งเหลา่ นี้ว่า mental hygiene ก็ได้ emotional hygiene ก็ได้ ใช้ศัพท์อะไรก็ได้ ไม่ต้องเป็นศัพท์ทางศาสนา ทั้งหมดเป็นเรื่องเดียวกัน คือเรื่องของการฝึกซ้อมทักษะเหล่านี้
จะฝึกฝนในรูปแบบก็ได้ หรือจะปฏิบัติการในชีวิต เช่น จะบ่นลูกใหน้ ้อยลงใน 2 สัปดาห์นี้ ลองทำดู ลองตั้งใจทำ ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บ้าง อาจบอกให้ลูกช่วยเตือน ช่วยกระตุกแม่ ก็ได้เหมือนกัน แล้วแต่อุบายของแต่ละคน แล้วเวลาที่ลูกเตือนก็ระวังเผลอไปตวาดลูกกลับ
ถึงแม้จะนับถือศาสนาใดก็สามารถฝึกฝนคุณภาพของ self-observation หรือ self-awareness นี้ได้ การฝึก self-awareness แบบนี้คือ การตระหนักรู้เป็นขณะ ๆ ไป ไม่ใช่การบอกว่า “ฉันรู้ว่าฉันเป็นคนแบบนี้แบบนั้น” “ฉันมีนิสัยแบบนี้แบบนั้น” self-awareness ที่ต้องการฝึกคือ การตระหนักรู้สด ๆ ในขณะที่กำลังจะด่าคน แล้วเราตระหนักขึ้นมาตอนนั้นว่าเรากำลังโกรธ เราไม่ควรทำ ความสามารถในการมี self-awareness แบบนี้ ทุกคนมีอยู่ แต่ไม่ได้เสริมเหตุปัจจัยที่เอื้อให้เกิดสติ ระลึกขึ้นได้ทันความต้องการ เราก็มีหน้าที่ในการเสริมเหตุปัจจัยนั้น คือการฟังให้เข้าใจ การมีศรัทธา มีความเพียร ค่อยเป็นค่อยไป

รักษาตน รักษาคนอื่น
ให้กำลังใจในสิ่งที่ทุกคนทำ เป็นสิ่งที่ดี เป็นการใส่ใจรักษาตนเอง ผู้ใดรักษาตน ผู้นั้นได้ชื่อว่ารักษาผู้อื่น การดูแลตัวเองด้วยสติ ด้วย ปัญญา ก็เป็นการดูแลโลก ดูแลสิ่งแวดล้อมแล้ว เมื่อก่อนเราอาจเคยทำอะไรให้เกิดปัญหา ก็รู้เท่าทันมัน อาจไม่ได้ทำให้มันหมดไป เพียงแค่รู้เท่าทันก็ให้ผลหลาย ๆ อย่างแล้ว ทั้งในแง่ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพร่างกายต่าง ๆ มีงานวิจัยมากมายที่บอกว่า การฝึกฝนภาวนาทำให้สมดลุร่างกายดีขึ้น ความเครียด น้อยลง นอนหลับดีขึ้น แต่ที่มากกว่านั้นคือ เพื่อให้จิตใจเรามั่นคง สามารถดำรงอยู่ในสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงมากมาย เราเห็นได้ง่าย ๆ ว่าคนในสังคมไม่ได้เตรียมจิตใจที่จะเผชิญสถานการณ์แบบนี้ มีอาการของขึ้นกันง่าย ๆ มีคนจุดไม้ขีดทาง social media ทุกวัน เรื่องวัคซีนเอย ชุดตรวจโควิดเอย นิรโทษกรรมเอย พอไฟ (ในใจ) เรากำลังจะดับ ก็ถูกจุดใหม่เรื่อย ๆ เติมน้ำมันในใจเราเอง แถมบางทีก็สาดให้คนอื่นอีก การฝึกภาวนาก็เป็นการลดภาระในใจเรา และลดภาระการสาดไฟให้สังคมด้วย การภาวนาดูแลตนเองด้วยสติและปัญญาเป็นการรักษาตน รักษาคนอื่นไปด้วยกัน ขอให้มีความมั่นคง ภาวนากันให้สม่ำเสมอ