หมวดหมู่
การทำงานของจิต

สำคัญที่ “รู้”

อะไรที่ปรากฏ (รู้) ไม่ว่าจะท้อ เศร้า เบื่อ เหงา เซ็ง ดีใจ เสียใจ โกรธ ยินดี ยินร้าย ฯ นั้นตัวมันไม่สำคัญเท่าการปรากฏขึ้นของมัน เพราะนั่นแสดงถึงการ “รู้” ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อรู้แล้วตื่นแล้วแต่หากไม่มีสมาธิ หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็จะหลงไปดิ้นรนจัดการกับอารมณ์ อยากให้หาย อยากให้อยู่นาน ไม่รู้ซื่อ ๆ เฉย ๆ ไม่เป็นอุเบกขาก็ไม่เกิดปัญญาเห็นความจริง

หมวดหมู่
การทำงานของจิต การฝึกสติ

ดูภาพเห็นจิต

Regain-your-mindfulness.jpg (1.90MB; 1920x1080 pixels)
ลองมองภาพนี้ด้วยใจที่ผ่อนคลาย หยุดคิดหยุดนึกหยุดปรุงแต่ง
ปล่อยให้ใจทำงาน รับรู้เป็นขณะ ๆ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
 
หมวดหมู่
การทำงานของจิต

เพียงแค่ตาเห็น

ตาเห็นรูป สัญญาหมายรู้ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ สังขารปรุงแต่งสวย ไม่สวย ดี ไม่ดี เกิดเวทนาความพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉย ๆ ไม่ได้มีอะไรดำรงอยู่อย่างแท้จริง ทุกสิ่งล้วนเกิดจากเหตุสืบเนื่องกัน ไม่น่ายึดมั่นถือมั่นจริงจัง

หมวดหมู่
การทำงานของจิต การฝึกสติ

ลองนึกขอบคุณทุก ๆ สิ่ง แล้วย้อนมาสังเกตที่ใจ

image

หมวดหมู่
การทำงานของจิต

ทำความเข้าใจเรื่องการปรุงแต่ง

เวลาพูดถึงการปรุงแต่ง โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าคือ การคิดไปเอง ไม่มีเหตุผลที่สมควรคิด ที่จริงแล้ว จิตที่มีการปรุงแต่ง (จิตสังขาร) ไม่ได้หมายถึง การคิดไปเอง ไม่มีเหตุผลเท่านั้น ความคิดปรุงแต่งหลายครั้งสมเหตุสมผล (แบบโลกๆ) เช่นไม่ได้รับความเป็นธรรม หัวหน้าไม่มีเหตุผล ตรวจสอบแล้วเป็นจริง(แบบโลกๆ)ทุกประการ แต่ในความเป็นจริงทางธรรม (จริงแท้ ไม่ใช่จริงเทียม) นั้นพอมีความรู้สึกว่ามีเรา มีเขาก็ปรุงแต่งแล้ว อะไรที่ตามมาเช่นความคิด ความรู้สึกก็ปรุงแต่งล้วนๆ คือไม่มีอะไรเป็นแก่นสารน่ายึดมั่นถือมั่น เมื่อเห็นถูกแบบนี้แล้ว ใจก็จะเป็นกลาง ปล่อยวางได้ พอเป็นกลางแล้ว มีความผ่อนคลายสงบขึ้น จิตก็ไม่หลงไปกับความโกรธ ความไม่พอใจ น้อยใจ เสียใจ แต่จะหันมาทำหน้าที่ของตนเองได้ ถ้ายังเครียดๆ ให้รู้ตัว แล้วจะเห็นว่าเครียดเพราะหลงคิด หลงยึด ไม่ได้เครียดเพราะใครๆมาทำอะไรให้ไม่พอใจ ที่ไม่พอใจเพราะหลงไปยึดมั่นแล้วก็ปรุงแต่งไป รู้ตัวไม่ทันก็เลยเกิดความยินร้าย เกิดความดิ้นรนกระวนกระวายใจ

ถ้าหากมีสติ มีสมาธิใจตั้งมั่นจะเห็นว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น “สักแต่ว่า” เป็นธรรมดาอย่างนี้ ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง

เวลาพูดถึงการปรุงแต่ง โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าคือ การคิดไปเอง ไม่มีเหตุผลที่สมควรคิด ที่จริงแล้ว จิตที่มีการปรุงแต่ง (จิตสังขาร) ไม่ได้หมายถึง การคิดไปเอง ไม่มีเหตุผลเท่านั้น ความคิดปรุงแต่งหลายครั้งสมเหตุสมผล (แบบโลกๆ) เช่นไม่ได้รับความเป็นธรรม หัวหน้าไม่มีเหตุผล ตรวจสอบแล้วเป็นจริง(แบบโลกๆ)ทุกประการ แต่ในความเป็นจริงทางธรรม (จริงแท้ ไม่ใช่จริงเทียม) นั้นพอมีความรู้สึกว่ามีเรา มีเขาก็ปรุงแต่งแล้ว อะไรที่ตามมาเช่นความคิด ความรู้สึกก็ปรุงแต่งล้วนๆ คือไม่มีอะไรเป็นแก่นสารน่ายึดมั่นถือมั่น เมื่อเห็นถูกแบบนี้แล้ว ใจก็จะเป็นกลาง ปล่อยวางได้ พอเป็นกลางแล้ว มีความผ่อนคลายสงบขึ้น จิตก็ไม่หลงไปกับความโกรธ ความไม่พอใจ น้อยใจ เสียใจ แต่จะหันมาทำหน้าที่ของตนเองได้ ถ้ายังเครียดๆ ให้รู้ตัว แล้วจะเห็นว่าเครียดเพราะหลงคิด หลงยึด ไม่ได้เครียดเพราะใครๆมาทำอะไรให้ไม่พอใจ ที่ไม่พอใจเพราะหลงไปยึดมั่นแล้วก็ปรุงแต่งไป รู้ตัวไม่ทันก็เลยเกิดความยินร้าย เกิดความดิ้นรนกระวนกระวายใจ

ถ้าหากมีสติ มีสมาธิใจตั้งมั่นจะเห็นว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น “สักแต่ว่า” เป็นธรรมดาอย่างนี้ ถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง